วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชวนครูกำแพงเพชรเดินออกมานอกกล่อง มองดู 21st Century


ชวนครูกำแพงเพชรเดินออกมานอกกล่อง มองดู 21st Century พร้อมๆกัน

การทำหน้าที่ Facilitator เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยาก และอย่างที่ทราบกันว่า การเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ที่ดีนั้นเป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” เราอาจมีความรู้เป็นอย่างดีในการเป็น Facilitator แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเป็น Facilitator ที่ดีและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สำเร็จและมีความสุขได้ องค์ประกอบของการทำหน้าที่ผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้จึงละเอียดอ่อน และต้องการการฝึกฝนตัวเองอย่างประณีตเพียงพอที่จะเข้าใจผู้คน และเข้าใจวิถีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโหมดเรียนรู้ ผ่าน “ความสุข ความปลอดภัย”









เดินทางมาที่กำแพงเพชร เพื่อมาทำ Workshop การพัฒนาศักยภาพครู Facilitator ที่เชื่อมโยงกับวิถีการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ใน ศตวรรษที่ ๒๑  โดยมีทีมงานกำแพงเพชร (มรภ.กำแพงเพชร) ที่มี รศ. ดร.เรขา อรัญวงศ์ เป็นผู้จัดการในพื้นที่

ที่กำแพงเพชรมีต้นทุนที่ค่อนข้างพร้อม จากโครงการ LLEN  (โครงการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก) ที่มีการดำเนินการที่นี่มาก่อน ดังนั้นกลุ่มครูแกนนำที่เข้ามาร่วม workshop จึงมี “ต้นทุน” ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปถึงคุ้นชินกระบวนการสร้างความรู้ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันแนวทางของ KM ทำให้ “ศักยภาพ+ความรู้” ของผู้เข้าร่วม workshop ครั้งนี้ จึงไม่ยากมากในการเพิ่ม-เติม-และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพ Facilitator อันเป็นทักษะที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ รวมไปถึงการเปลี่ยนจากครูปกติมาทำหน้าที่บทบาท "ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้"
สำหรับตัวผมเองที่มาทำหน้าที่ ทีมวิทยากรกลางเองก็ค่อนข้างสบายใจเป็นเบื้องต้น จากความพร้อมของพื้นที่ และวางแผนการทำ Workshop แบบหลวมๆ ตามสไตล์ที่ผมถนัด ที่จะวิเคราะห์สถานการณ์เร็วๆแล้วสร้างกระบวนการเรียนรู้เฉพาะตรงนั้น  อย่างไรก็ตามการที่ผมคิดแบบนี้ ผมมีการเตรียมความพร้อมมาระดับหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ในสถานการณ์จริงบางครั้งแทบไม่ได้ทำตามที่วางแผนมาเลย ได้เรียนรู้ใหม่ๆทุกครั้งแม้ว่าเป็น วิถีการทำงานที่คุ้นเคย กลุ่มเป้าหมายเดิม วัฒนธรรมเดิมๆ แต่ได้ ชุดความรู้ใหม่ๆได้ทักษะใหม่ๆให้กับตัวเองทุกครั้ง


การทำหน้าที่ Facilitator เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยาก และอย่างที่ทราบกันว่า การเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ที่ดีนั้นเป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” เราอาจมีความรู้เป็นอย่างดีในการเป็น Facilitator แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเป็น Facilitator ที่ดีและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สำเร็จและมีความสุขได้  องค์ประกอบของการทำหน้าที่ผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้จึงละเอียดอ่อน และต้องการการฝึกฝนตัวเองอย่างประณีตเพียงพอที่จะเข้าใจผู้คน และเข้าใจวิถีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโหมดเรียนรู้ ผ่าน“ความสุข ความปลอดภัย”
ที่กำแพงเพชร เริ่มต้น กระบวนการเรียนรู้โดย ชวนครูเดินออกมานอกกล่อง มองดู 21st Century พร้อมๆกัน ช่วยกันขบคิดว่า มีทักษะใดบ้างที่เราต้องพัฒนาทั้งตนเองและเด็กๆของเรา เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขนาดนั้น แน่นอนว่าถึงแม้ว่าผลลัพธ์เกิดทักษะที่หลากหลาย จากการทำงานหนักของผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้นั้น “เหนื่อย” และมีแนวโน้มที่จะ “ไม่ยั่งยืน” หากไม่ได้ใช้ “หัวใจของการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อก้าวไปสู่ 21st Century Skills” ซึ่งได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจของผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ,การสอนวิธีการเพื่อสร้างความรู้  (Learn How to Learn)

เป้าหมายที่จะเดินทางไปให้ถึงคือ 21st Century Skills ที่มี PBL(Project Based learning) เป็นเครื่องมือ มีชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ที่เราเรียกว่า CoPs ครู ตอนนี้เราใช้คำว่า  PLC (Professional learning Community) เป็นตัวช่วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ได้นั้น ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองก่อน เปลี่ยนที่ระดับกระบวนทัศน์กันเลยทีเดียว
วิธีคิดหลักๆในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่คนทำงานคือ
  • ถอดถอนความคิดเดิม
  • เติมความคิด มุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไตร่ตรองผ่านบริบทจริง
  • ชวนกันคิดว่า “หากจะเปลี่ยน” เราต้องเริ่มจากตรงไหน
  • หาวิธีการแล้วลองทำดู ถอดบทเรียนเป็นระยะๆ


ที่กำแพงเพชรเราเริ่มต้นกันแบบนี้ โชคดีที่เครือข่ายครูที่นี่เข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มรายสาระวิชา (วิทยาศาสตร์ +ภาษา+คณิตศาสตร์) เวลาเราคุยถึง เข็มมุ่ง 21st Century Skills แล้ว ต่อติดได้เร็ว และกระบวนการกลุ่มที่มีครู Facilitator ที่ผ่านการฝึกทักษะเบื้องต้น สามารถเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี

การถอดบทเรียนเล็กๆเพื่อให้เห็นตัวกระบวนการสร้างความรู้ในชีวิตการทำงานของครู ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเชื่อมไปยัง Skillsของ 21st Century Skills ได้ชัดเจน ครูก็เห็นความหวังมากขึ้น รวมไปถึงหาวิธีการใหม่ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ที่ครูคิด สนุกสนาน สร้างแรงบันดาลใจให้ศิษย์มากขึ้นไปด้วย 


ส่วน PLC ที่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างจากการทดลองรวมกลุ่มเล็กๆใน workshop วันนี้ เห็นความอัศจรรย์ของการแลกเปลี่ยน เราเห็นว่า PLC เป็นตัวช่วยของครูได้จริงๆ
โดยสรุป : กระบวนการพัฒนาศักยภาพครู Facilitator ที่กำแพชร ที่ใช้เวลาเร่งรัดภายใน ๒ วัน วันแรกฝึกทักษะ Facilitator วันที่สองได้ทำจริงผ่านเครือข่ายครูสอนดีที่ได้เชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้ การยืดหยุ่นและเปิดใจให้กว้างในการเรียนรู้ร่วมกันตลอดจนการหากลวิธีที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมของครูกำแพงเพชรจริงๆ


ในบทบาททีมวิทยากรกลางของผม...อาจต้องรอคอย และติดตามเรียนรู้กับครูที่กำแพงเพชรเป็นระยะๆ เพื่อค้นหา “บทเรียน” ที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายครูสอนดี อีก ๑๔ จังหวัดต่อไป
 
action กับ อ.เอ็ม มณฑล (ม.หัวเฉียว) ที่ไปช่วยกันใน Workshop ที่กำแพงเพชร


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
๙ - ๑๐ มิ.ย.๕๕
มรภ.กำแพงเพชร

ไม่มีความคิดเห็น: